สังขละ เมืองสามหมอก มนต์เสน่ห์แห่งผืนน้ำ

ภูเขา แม่น้ำ สะพานไม้ และสายใยแห่งวัฒนธรรรม ล้วนถูกผูกโยงและหลอมรวมเป็นหนึ่งอย่างมีเอกลักษณ์ ซึ่งก็ไม่ต่างจากความหมายของคำว่าสังขละ โดยมีความหมายว่า การผสมผสานของคนหลายชาติพันธุ์ในภาษาพม่า (สังเคลียะ) ผู้คนที่นี่แม้จะแตกต่างด้วยเชื้อชาติหรือเขตประเทศกั้น แต่ด้วยพื้นฐานแห่งความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา จึงได้เกิดการร่วมมือร่วมใจสร้างสะพานเพื่อเชื่อมสองฝั่งของแม่น้ำซองกาเลีย ซึ่งเป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ทางฝั่งเมียนมาร์ โดยเป็นความประสงค์ของหลวงพ่ออุตตมะ สะพาญมอญแห่งนี้จึงมีอีกชื่อว่า สะพานอุตตมานุสรณ์

ความหมายของสามหมอกของเมืองสังขละบุรี

หมอกในความหมายทั่วไป หมายถึงไอน้ำที่รวมตัวกัน แต่สายหมอกสำหรับที่นี่นั้นมีความหมายที่สวยงามไปกว่านั้น โดยสายหมอกของที่ หมายถึง สายใยแห่งวัฒนธรรมหรือมีความหมายถึงเชื้อชาติของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ โดยหลัก ๆ แล้วก็จะเป็นคนไทย มอญ กะเหรี่ยง ลาว และเมียนมาร์ ผู้คนแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการแต่งตัว อาหารพื้นบ้าน และภาษาที่แตกต่างกัน แต่กลับผสมผสานหลอมรวมกันได้อย่างงดงามราวกับไอของสายหมอกยามเช้าตรู่ เป็นสายหมอกที่มีแม่น้ำซองกาเลีย เปรียบเป็นเส้นเลือดใหญ่คอยสูบฉีดให้ลมหายใจกับผู้คนมาอย่างยาวนาน

วิธีสัมผัสชีวิตแนบชิด สามหมอกอย่างครบถ้วนภายใน 1 วัน

เริ่มต้นด้วยการตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่และเดินทางมาให้ถึงสะพานมอญตอนประมาณ 6 โมงเช้า เพราะผู้คนต่างมีนัดเพื่อตักบาตร ในพิธีตักบาตรมอญ ซึ่งเป็นพิธีที่อยู่คู่กับสะพานแห่งนี้มาอย่างยาวนาน พระหลายสิบรูปจะเดินรับบาตรจากผู้คนแต่เช้าตรู่ โดยมีชาวบ้านที่แต่งตัวพื้นเมือง ปะแก้มด้วยสมุนไพรชื่อทานาคา บ้างยืน บ้างนั่งเรียงแถวรอตักบาตร ไม่ใช่เพียงแต่ชาวบ้านที่นี่เท่านั้นที่สามารถตักบาตรได้ เพราะตลอดแนวถนนจะมีชุดตักบาตรขายสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากทำบุญที่สำคัญมีชุดพื้นบ้านของชาวมอญให้ใส่ถ่ายรูปสวย ๆ อีกต่างหาก หลังจากตักบาตรเสร็จก็ถึงเวลาชื่นชมความงามของสะพานไม้ตรงหน้า โดยเราจะได้รับการต้อนรับจากมัคคุเทศก์ตัวน้อยที่จะเริ่มจากการแนะนำตัวและพาเราเดินชมสะพานไม้พร้อมเล่าประวัติของสะพานเก่าแก่แห่งนี้ตลอดทาง โดยมัคคุเทศก์หรือไกด์น้อยเหล่านี้ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่หากเป็นเด็กน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้บ้างเป็นคนกะเหรี่ยง บ้างเป็นมอญ ส่วนมากเด็ก ๆ เหล่านี้จะตั้งใจมาต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อหวังได้สินน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ จากชาวบ้านเพื่อนำไปช่วยแบ่งเบาภาระผู้เป็นพ่อและแม่

หลักจากที่ชื่นชมทัศนียภาพบนดินกันไปแล้วต่อไปที่ขาดไม่ได้ นอกจากคั่นโปรแกรมการเที่ยวชมด้วยการเล่นสนุกกับ Fun88Asia บนมือถือแล้ว ก็คือ การไปล่องเรือชมความงามผ่านสายน้ำในระยะประชิด โดยเรือลำน้อยของชาวบ้านจะพาเราไปเทียบยังที่แรกก็คือ วัดใต้น้ำ เมืองบาดาล เดิมคือวัดวังก์วิเวการาม หากมาในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน น้ำจะลดลงต่ำจนสามารถเดินลงมาชมวัดได้ แต่หากมาช่วงหน้าฝนน้ำก็จะสูงจนอาจเห็นเพียงยอดหอระฆังเท่านั้น จุดที่สองคือวัดสมเด็จ (วัดไทย) วัดนี้ต้องเดินขึ้นเนินไปและสามารถเห็นวิวทิวทัศน์ของแม่น้ำซองกาเลียได้ด้วย ต่อมาจุดที่สามคือ วัดศรีสุวรรณ (วัดชาวกะเหรี่ยง) เป็นบริเวณที่น้ำจะท่วมตลอดปีจึงไม่สามารถเดินลงไปชมได้              

การล่องเรือนั้นใช้เวลาไม่นานประมาณ 40 – 50 นาทีก็จะเที่ยวชมสองฟากแม่น้ำอย่างครบถ้วน หากใครมีเวลาอยากจะเที่ยวบนฝั่งต่อก็มีสถานที่อีกมากมาย เช่น วัดวังก์วิเวการาม ที่สร้างขึ้นมาใหม่หรือจะไปไหวเจดีย์พุทธคยาจำลอง โดยจำลองจากเจดีย์พุทธคยาเจดีย์พุทธคยาประเทศอินเดีย และที่พลาดไม่ได้คือ ถนนคนเดินที่เต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย มีทั้งอาหารไทย กะเหรี่ยง มอญ ให้เลือกซื้อหลังจากท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน

ความเชื่องช้าของเวลาที่คล้ายกับว่าเข็มนาฬิกาขยับพร้อมสายหมอก เสียงเครื่องยนต์เรือที่คอยสตาร์ทเป็นระยะให้สัญญาณว่าชาวบ้านแถวนี้จะได้ค่าจ้างจากนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นค่าเช่าแพ เช่าเรือทุกอย่างล้วนขับเคลื่อนผ่านสายน้ำ กลิ่นไอแห่งสามเชื้อชาติคละคลุ้ง ผสมผสานจนเกิดเป็นมนต์ขลังบางอย่างลอยละล่อง งดงาม ลงตัวและมีเสน่ห์จนอยากให้ทุกคนมาสัมผัสเมืองสังขละแห่งนี้สักครั้ง